คัมภีร์มรณศาสตร์ – 010.บาร์โด โทโดล (Bardo Thodol)บาร์โดทั้งสี่

Bardo Thodol คืออะไร

คำว่า “บารโด โทโดล (The Bardo Thodol)  เป็นที่รู้จักกันในชื่อคัมภีร์มรณะศาสตร์แห่งทิเบต ที่ถูกนำมาเผยแพร่โดย ดร.วอลเตอร์ วาย อีวาน-เวนทซ์
คำว่าบาร์โด โทโดลหมายถึงความหลุดพ้นจากการได้ยิน หรือได้ฟังจากหลังที่เราตายไปแล้ว , บาร์โดหมายถึงช่วงหลังความตาย ส่วนคำว่าโทโดลหมายถึงการหลุดพ้นจากการฟังหรือได้ยิน ซึ่งนี่คือการเดินทางของเราหลังความตายมี 3 ขั้นตอน

The Chikhai Bardo หรือ ประสบการณ์ภาวะแสงกระจ่าง หรือจิตดั้งเดิม (“the experience of the primordial or primary clear light.”)
The Chonyid Bardo หรือประสบการณ์แห่งเทพปางสันติและปางดุ บางแห่งแปลว่าปางพิโรธ (the experience of the peaceful and wrathful deities.)
The Sidpa Bardoหรือบาร์โดแห่งการเกิด

เมื่อมีคนในครอบครัวเสียชีวิตลง พระลามะจะถูกเชิญมาสวดมนต์ ทำพิธีกรรมต่างๆ เปิดโอกาสให้ญาติพี่น้องทำบุญ และสวดคัมภีร์รณศาสตร์แห่งทิเบตเสริมเพื่อเป็นการนำทางให้กับวิญญาณของผู้ตายที่กำลังเข้าสู่อาณาจักรหลังความตายที่ตนเองไม่เคยรู้จักยามที่ยังมีชีวิต ในทางปฏิบัติคัมภีร์รณศาสตร์แห่งทิเบตนี้ไม่เพียงใช้สวดเฉพาะในงานศพเท่านั้น แต่ยังแนะนำจากพระลามะด้วยความปราถนาดีให้ผู้คนได้อ่านเรียนรู้เพื่อจะได้เตรียมตัวตายได้อย่างถูกต้องและเป็นไกด์นำทางหลังความตาย

บทความที่แปลลงในบล็อค จะมีเนื้อหาคร่าวๆเพื่อแนะนำ ทั้งนี้ในคัมภีร์รณศาสตร์แห่งทิเบต เต็มไปด้วยคำสอน ภาษา ปรัชญา สัญลักณ์จำนวนมากมาย หากสนใจให้ค้นหาอ่านจากในเวบต์หรือหนังสือ

วัตถุประสงค์ของ “บาร์โด โทโดล”

พระพุทธศาสนาคือคลังแห่งปัญญาที่ยิ่งใหญ่เต็มไปด้วยเรื่องอันอัศจรรย์มากมาย และหนึ่งในนั้นคือ การเผยแจ้ง “ภายใน” ซึ่งรวมถึงกระบวนการเกิดและการตาย และกระบวนการของชีวิตนั้นไม่แตกต่างจากกลไลของระบบจักรวาลวิทยา ควอนตัมฟิสิกส์ พวกศึกษาระดับอะตอมอนุภาคและรวมถึงบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่กำลังไขปริศนาของชีวิต และก็เหมือนวิทยาศาสตร์ที่อุทิศตนในการเรียนรู้ ศึกษา ปฏิบัติ ต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเข้าถึงประสบการณ์จริงตามที่อธิบายไว้ในคำสอน

ระหว่างที่เรายังมีชีวิต จิตที่ประภัสสรดั้งเดิมถูกบดบังด้วยกิเลสและกรรม ทำให้คนๆนั้นไม่เห็นภาวะพุทธะในตนเอง นี่เองที่คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบตได้สอนให้รู้จึกการเปลี่ยนแปลงจิตตนเองระหว่างชีวิตหลังความตายให้บริสุทธิ์และตระหนักรู้ถึงภาวะเดิมของจิต ดังนั้นเมื่อตายลงไป แต่ละคนจะเข้าสู่ภาวะที่แสงกระจ่างของจิตเดิมกินระยะเวลานานมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ผลของการกระทำในขณะที่ยังมีชีวิต
ดังนั้น การฝึกจิตให้เข้าถึง “ภาวะจิตดั้งเดิม (พินทุของจิตดั้งเดิม)” ให้นานต่อเนื่องในระหว่างวัน ระหว่างที่ยังมีชีวิต จนมีความชำนาญในการวางจิต จึงจะพอให้ความหวังได้ว่าคุณจะมีโอกาสรอดปลอดภัยในช่วงประสบการณ์หลังความตาย ไม่เช่นนั้นแล้ว กระแสของกรรม อกุศลกรรมที่รุนแรงของจิตจะรุมเร้า ย้อนกลับมาและคุณไม่มีทางต่อต้านกระแสกรรมเหล่านี้ คุณจะถูกมันลากจูงไปด้วยแรงของกรรมในโลกหลังความตาย ยกเว้นว่าคุณช่างโชคดีที่มีใครสักคนช่วยให้คุณผ่านวิฤกษครั้งนี้ ด้วยการอ่านคัมภีร์บาร์ด โทโดล เพื่อนำทางให้คุณปลอดภัย

ศัพท์ภาษาอังกฤษใช้คำว่า consciousness ซึ่งคำๆนี้มีคำแปลหลายนัยยะ เช่น สติบ้าง สำนึกรับรู้บ้าง และยังหมายถึงพินทุที่เป็นจุดละเอียดของจิตดั้งเดิมที่ไม่มีหน้าตา รูปร่างลักษณะ เป็นความสว่างไสวของจิตดั้งเดิม ซึ่งในกรณีนี้คำจะขอใช้คำว่า “พินทุของจิตดั้งเดิม”

วิญญาณ (The Soul)

เมื่อเราพูดเรื่องความตาย บางคนมองภาพว่าเมื่อคนเราตายไปแล้วก็จบสิ้นกันไป ไม่มีอะไรต่อหลังความตาย แต่พุทธศาสนามีมุมมองที่แตกต่างออกไป สำหรับชาวพุทธแล้วความตายไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่เป็นการเปลี่ยนผ่านชีวิตจากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางอย่าง  แต่ถ้ามองว่าชีวิตคือการไม่สิ้นสุดดำรงนิรันดร์ นี่ก็ไม่ใช่มุมมองของพุทธศาสนาด้วยอีกเช่นกัน

พุทธศาสนาปฏิเสธการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆว่าคงทนถาวร หรือบางสิ่งที่คงตัวไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะเปลี่ยนผ่านภพระหว่างมีรูปชีวิตหรือไม่มีรูปก็ตาม พระพุทธศาสนาปฏิเสธวิญญาณนิรันดร์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เชื่อในกฏแห่งกรรมที่พลังงานของกฏแห่งกรรมเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป และเพราะความเปลี่ยนแปลงนี้เอง จึงไม่มีบุคคลที่มีตัวตนถาวร

เหมือนกับการยกตัวอย่างเปรียบเทียบแสงเทียนกับเทียนไข ที่เทียนเล่มหนึ่งมีเปลวไฟและเปลวนั้นได้ดับลง แต่ก็ถูกจุดมาใหม่ในเทียนอื่นๆ ซึ่งแม้จะมีรูปแบบเดิม แต่ไม่ใช่เทียนเดิมและแสงเดิม แม้การปรากฏจะมีรูปแบบเดิมๆ เฉกเช่นเดียวกับชีวิตทั้งปวง

เหมือนกับเปลวไฟ นิสัยเดิมที่มีพันธะกรรมในร่างกายใหม่ หลังจากละทิ้งของเดิมแต่ก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เหมือนเทียนเล่มใหม่ที่เป็นเชื้อเพลิง ชีวิตก็จะดำเนินไปภายใต้รูปใหม่ เงื่อนไขใหม่ๆที่เปลี่ยนแปลงของกรรม

รู้จัก “ตรีกาย”

ในพระพุทธศาสนาจะกล่าวถึงกายไว้สามกายเรียกว่า “ตรีกาย” ประกอบด้วย

–      นิรมานกาย
–      สัมโภคกาย
–      ธรรมกาย

ซึ่งตรีกายนี้ เป็นภาวะที่จะอยู่ในบาร์โด ในขณะที่เรายังเป็นมนุษย์ เราเองก็อยู่ในบาร์โดของการปรากฏของสิ่งที่จับต้องได้ และกายที่เด่นในบารณ์โดนี้คือนริมานกาย แต่ขณะที่อยู่ในโลกหลังความตาย จะมีสัมโภคกายและธรรมกายที่มีบทบาทเด่นและรองลงมา

เมื่อกายหยาบหยุดทำงาน ธาตุสี่แยกสลาย เหลือแต่จิตและจิตนี้จะปรุงแต่งมีสภาพรูปกายของจิตที่แตกต่างกันไปไม่แน่นอน (awareness-body) ตามสภาพความเข้าใจของจิต ก่อนจะเรียนรู้เรื่องบาร์โด เราควรมาทำความเข้าใจอย่างน้อยก็คร่าวๆเกี่ยวกับ “ตรีกาย”

ธรรมกาย

ในด่านแรกของบาร์โดที่เรียกว่า Chikhai Bardo, จิต (consciousness) จะเจอประสบการณ์ภาวะธรรมกาย ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นพระพุทธเจ้าอธิพุทธะ พระวรกายเปล่าสีฟ้า ซึ่งเป็นสีของสติที่บริสุทธิ์ (intensive pure awareness) จะเกิดเมื่อจิตดำรงในสมาธิ ในภาวะที่จิตอยู่ในธรรมกาย สิตทีบริสุทธิ์จะมีรูปแบบก่อนกำเนิด (primordial beginning) สิ่งนี้ปรากฏอยู่เป็นหนึ่งเดียวที่แบ่งแยกไม่ได้ เต็มไปด้วยศํกยภาพของการสร้างสรรค์จิตวิญญาณทุกรูปแบบ (consciousness) และนี่คือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งและเป็นจุดสิ้นสุดในภาวะไร้รูป

สัมโภคกาย

ในขั้น Chonyid Bardo, จิตวิญญาณ (consciousness) จะเจอประสบการณ์ภาวะของสัมโภคกายหรือกายของจิตวิญญาณที่เกิดจากปีติและจิตวิญญาณนั้นเปลี่ยนรูปจากการสำแดงของใจ

เพราะว่าเรายังมีทิฐิที่ติดอยู่กับมุมมองที่ยึดติดแบบโลกๆ เราเข้าใจว่าสัมโภคกายคือกายของสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในดินแดนสรวงสรรค์ ดังนั้นเมื่อใจหรือจิตของเราเจอพลังกุศลของจิตตนเอง ก็จะเจอประสบการณ์ของเทพปางสันติ แต่ถ้าจิตผันแปรเป็นอกุศล จิตจะสะท้อนภาพพบเจอเทพปางพิโรธหรือเจอเทพมาร

นิรมานกาย

ด่านสุดท้ายของการเดินทางเรียกว่า “Sidpa Bardo” ในด่านนี้จิตวิญญาณ ( consciousness)  จะเข้าสู่กระบวนการเปลือกหุ้มใหม่กายภายนอก ที่เรียกว่านริมานกาย แสดงว่าพร้อมที่จะจุติในภพภูมิใหม่ และนี่ตอนที่อ่านอยู่นี้คือรูปนิรมานกายของจิตนั้นเองและการมีรูปนิรมานกายคือการเข้าถึงความทุกข์ได้ง่าย เพราะกายนี้ไม่มั่นคงถาวร แตกดับสลายง่าย เหมาะสมแก่การที่จิตจะเห็นและเข้าใจกฏไตรลักษณ์ได้ง่าย

สำหรับมหายานแล้ว ในทุกช่วงขณะชีวิตเราล้วนมีประสบการณ์ทั้งสามกาย จิตใจมุนษย์ในกายมนุษย์ที่เรียกว่านริมานกาย, สัมโภคกายคือเมื่อเราฝึกสิต ฝึกจิต มีความสงบนิ่งเป็นพลังงานของจิตที่ต่อเนื่อง ส่วนธรรมกายคือเมื่อเราภวานาแล้วเราเข้าใจธรรมะ จิตเป็นธรรมะสะเอง ปล่อยวางกิเลสได้ จิตไม่กอดหรือดึงดูดกิเลสเข้ามาสามารถตัดทิ้งได้

บาร์โดเป็นคำธิเบตที่มีความหมายเพียงแค่ ” การเปลี่ยนผ่าน ” หรือช่องว่างระหว่างสถานการณ์ที่สิ้นสุดลง­และอีกสถานการณ์ที่
กำลังเกิดขึ้น บาร์ แปลว่า ” ในระหว่าง ” และโด แปลว่า ” ถูกระงับ” หรือ ” ถูกโยน ”

บาร์โดทั้งสี่ มีดังนี้
@ บาร์โด ” ธรรมชาติ ” คือ บาร์โดแห่งชีวิตนี้
@ บาร์โด ” อันทุกข์ทรมาณ ” คือ บาร์โดแห่งการตาย
@ บาร์โด ” อันแจ่มกระจ่าง ” คือ บาร์โดแห่งธรรมตา
@ บาร์โด ” แห่งกรรม ” คือ บาร์โดแห่งการถือกำเนิด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น